สะเดาะเคราะห์แก้กรรม ทำได้อย่างไร
กรรม คือ การกระทำที่ออกมาจากตัวเรา ซึ่งการที่เราจะกระทำสิ่งต่าง ๆ ออกมาไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางกาย วาจา หรือทางใจ นั้นต้องประกอบด้วยเจตนาซึ่งก็คือความตั้งใจหรือจงใจจึงจะออกมาเป็นการกระทำหรือกรรมที่เกิดขึ้นได้
โดยสามารถแบ่งกรรมหลัก ๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ กรรมฝ่ายดีและกรรมฝ่ายชั่ว
1. กุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายดี ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์, เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ, ไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น, ไม่คิดพยาบาทปองร้าย และเห็นไปในทางที่ชอบและถูกต้องทางทำนองคลองธรรม
2. อกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายชั่ว ซึ่งมีกิเลสเป็นแรงกระตุ้นหรือแรงผลักดันให้เกิดเป็นการกระทำ ได้แก่ การฆ่าสัตว์, การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, การประพฤติผิดในกาม, การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ, การคิดโลภอยากได้ของคนอื่น คิดปองร้ายผู้อื่น และการเห็นผิดจากครรลองครองธรรม
วิธีการแก้กรรม
สำหรับสิ่งที่เราทำลงไปนั้น ไม่ว่าเราจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดผลที่ตามมาทั้งด้านดีและด้านไม่ดี สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถแก้กรรมได้ คือ การรู้สึกถึงกรรมที่เราเป็นผู้ก่อขึ้น ดังที่เคยมีผู้กล่าวไว้ว่าเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็ต้องเริ่มมาจากการเปลี่ยนความคิดของตนเอง เมื่อเรารู้ตัวว่าได้ประกอบอกุศลกรรม หรือกรรมที่ไม่ดีเกิดขึ้น วิธีการที่จะแก้กรรมหรือสะเดาะเคราะห์กรรมนั้นก็คือต้องไม่ทำกรรมนั้นให้เกิดซ้ำอีก
คำถามก็คือ เราจะทำอย่างไรไม่ให้เราได้ก่ออกุศลกรรมนั้นขึ้นมาอีก สิ่งที่ทำได้ก็คือการฝึกสติ มีสมาธิ รู้ดีรู้ชั่ว และรู้ตัวในขณะที่กระทำสิ่งต่าง ๆ ที่เรียกว่ากรรม การสะเดาะเคราะห์กรรมนั้นง่ายมาก อันดับแรกที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การถือศีล 5 หมั่นหาเวลาศึกษาพระพุทธศาสนา สวดมนต์ เข้าวัดฟังธรรม นั่งสมาธิ เพราะสิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดสมาธิ และสติ ในหาคิดไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนที่จะเกิดการกระทำไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม หรือมโหกรรม และจะสามารถรู้เท่าทันอารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดให้เกิดการกระทำที่ยังไม่ผ่านการใช้สติไตร่ตรองได้ในคราวหลัง
โดยสามารถแบ่งกรรมหลัก ๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ กรรมฝ่ายดีและกรรมฝ่ายชั่ว
1. กุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายดี ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์, เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ, ไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น, ไม่คิดพยาบาทปองร้าย และเห็นไปในทางที่ชอบและถูกต้องทางทำนองคลองธรรม
2. อกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายชั่ว ซึ่งมีกิเลสเป็นแรงกระตุ้นหรือแรงผลักดันให้เกิดเป็นการกระทำ ได้แก่ การฆ่าสัตว์, การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, การประพฤติผิดในกาม, การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ, การคิดโลภอยากได้ของคนอื่น คิดปองร้ายผู้อื่น และการเห็นผิดจากครรลองครองธรรม
วิธีการแก้กรรม
สำหรับสิ่งที่เราทำลงไปนั้น ไม่ว่าเราจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดผลที่ตามมาทั้งด้านดีและด้านไม่ดี สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถแก้กรรมได้ คือ การรู้สึกถึงกรรมที่เราเป็นผู้ก่อขึ้น ดังที่เคยมีผู้กล่าวไว้ว่าเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็ต้องเริ่มมาจากการเปลี่ยนความคิดของตนเอง เมื่อเรารู้ตัวว่าได้ประกอบอกุศลกรรม หรือกรรมที่ไม่ดีเกิดขึ้น วิธีการที่จะแก้กรรมหรือสะเดาะเคราะห์กรรมนั้นก็คือต้องไม่ทำกรรมนั้นให้เกิดซ้ำอีก
คำถามก็คือ เราจะทำอย่างไรไม่ให้เราได้ก่ออกุศลกรรมนั้นขึ้นมาอีก สิ่งที่ทำได้ก็คือการฝึกสติ มีสมาธิ รู้ดีรู้ชั่ว และรู้ตัวในขณะที่กระทำสิ่งต่าง ๆ ที่เรียกว่ากรรม การสะเดาะเคราะห์กรรมนั้นง่ายมาก อันดับแรกที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การถือศีล 5 หมั่นหาเวลาศึกษาพระพุทธศาสนา สวดมนต์ เข้าวัดฟังธรรม นั่งสมาธิ เพราะสิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดสมาธิ และสติ ในหาคิดไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนที่จะเกิดการกระทำไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม หรือมโหกรรม และจะสามารถรู้เท่าทันอารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดให้เกิดการกระทำที่ยังไม่ผ่านการใช้สติไตร่ตรองได้ในคราวหลัง
เขียนขึ้นโดย Thailandhoro.com